News and Articles บทความ/สาระน่ารู้

เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย ปลูกกล้วยส่งออก ทำรายได้เห็นๆ


Date Post : 27 พฤศจิกายน 2017

เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย
.
และสร้างรายได้ ให้เกษตรกร ร๊วยรวย ได้เลยนะคะ !!
.

คุณทวีศักดิ์ แสงอุดม นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ได้ผลผลิตกล้วยไข่ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น เกษตรกรควรจัดการการผลิตตามมาตรฐาน จีเอพี (GAP)
>>

โดยก่อนปลูกควรเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงดินให้เหมาะสม
กรณีปลูกกล้วยไข่เป็นพืชเดี่ยวควรปลูกในอัตรา 400 ต้น/ไร่
หากปลูกเป็นพืชแซมในสวนผลไม้ ไม่ควรต่ำกว่า 250 ต้น/ไร่
นอกจากนี้ ควรเลือกหน่อกล้วยที่สมบูรณ์และขนาดหน่อสม่ำเสมอ
.

สำหรับการให้ปุ๋ย เกษตรกรควรให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ ซึ่งจะมีความสม่ำเสมอและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยของพืชมากกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน 10-50% ทั้งยังช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพปริมาณมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
กรณีใส่ปุ๋ยเม็ด แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเพื่อการเจริญทางลำต้น 4 ส่วน คือ
ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยครั้งแรกหลังปลูก 1-2 เดือน
ครั้งที่ 2 หลังปลูก 3-4 เดือน
ครั้งที่ 3 หลังปลูก 5-6 เดือน
ครั้งสุดท้ายคือ ระยะการให้ผลผลิต ประมาณ 7 เดือน หลังปลูก
โดยให้ปุ๋ยไนโตรเจน 85 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 50 กรัม/ต้น และโพแทสเซียม 270 กรัม/ต้น
.

หลังปลูก 3-4 เดือน กล้วยจะแตกหน่อขึ้นมา เกษตรกรต้องตัดหน่อที่ขึ้นใหม่ออก เหลือไว้เฉพาะต้นแม่จนกระทั่งกล้วยเริ่มแทงปลีให้ไว้หน่อ 1 หน่อ โดยเลือกหน่อที่สมบูรณ์ที่สุด
นอกจากนั้น เกษตรกรต้องหมั่นตรวจแปลงเพื่อสำรวจโรคในระยะการเจริญเติบโตของกล้วย ได้แก่ โรคใบจุดซิกาโตก้าสีเหลือง ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Pseudocerospora musae สามารถป้องกันได้โดยตัดใบที่เป็นโรคออก แล้วนำไปเผาทำลาย และพ่นด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น สารคาร์เบนดาซิม เป็นต้น
ขณะเดียวกันควรมีการควบคุมเพลี้ยไฟที่เข้าทำลายผิวผล ตั้งแต่ระยะออกปลี ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกาบปลีทำให้เกิดอาการด่างลาย และดูดกินน้ำเลี้ยงผลอ่อน ทำให้ผิวผลเสียหาย โดยอาการจะปรากฏชัดเมื่อผลโตขึ้น มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ทำให้ผลตกเกรด เกษตรกรสามารถป้องกันได้โดยพ่นด้วยสารอิมิดาคลอพริด 3 ครั้ง ตั้งแต่ระยะกาบปลีเริ่มบานและห่างกันทุก 7 วัน
.

คุณทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า หลังปลีบานสุดให้ตัดปลี และควรตัดผลของหวีตีนเต่า (หวีที่อยู่ล่างสุดของเครือ) เหลือไว้ 1 ผล เพื่อช่วยเพิ่มขนาดผลของหวีที่เหลือ และป้องกันก้านเครือแห้งและเน่า
จากนั้นควรห่อเครือกล้วย เพื่อให้ผิวผลสวยและป้องกันแมลงเข้าทำลาย
เกษตรกรควรให้ความสำคัญกับการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยกล้วยไข่ที่จะส่งออกควรเก็บเกี่ยวที่ความสุกแก่ ประมาณ 70-80% หรือหลังตัดปลี ประมาณ 33-45 วัน ขึ้นกับฤดูกาล
โดยช่วงฤดูฝนเก็บเกี่ยวประมาณ 33-37 วัน ฤดูร้อน 37-40 วัน และฤดูหนาว 40-45 วัน
.

ทั้งนี้ ควรสังเกตเหลี่ยมของผลร่วมด้วย และการขนส่งกล้วยไปยังโรงคัดบรรจุต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเสียดสีและทำให้ผิวผลช้ำระหว่างการขนส่ง
“การจัดการที่ไม่เหมาะสมบางประการ ณ ล้งรับซื้อหรือจุดรวบรวมผลผลิต เช่น ภาชนะที่ใช้ล้างกล้วยมีขนาดเล็ก จะทำให้ผิวผลเกิดการช้ำได้ ขณะเดียวกันการใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราสำหรับจุ่มหวีกล้วยในอัตราที่ไม่เหมาะสม อาทิ สารคาร์เบนดาซิม อาจทำให้เกิดปัญหาสารตกค้างปนเปื้อนในกล้วยไข่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นใช้สารเคมีอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางที่จะทำให้ได้ผลผลิตกล้วยไข่คุณภาพปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะไม่เกิดปัญหาการกักกันสินค้าที่ประเทศนำเข้าปลายทาง จะทำให้การค้าและส่งออกกล้วยไข่เป็นไปอย่างคล่องตัว และกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศได้รวดเร็วขึ้น” คุณทวีศักดิ์ กล่าว
.

อย่างไรก็ตาม หากสนใจเทคนิคการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-0583, (02) 579-9545 หรือสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?
รับข้อมูลข่าวสารดีๆได้ที่
Line @kingeggs_chubu


3503 เปิดดู